ทำไมบางคนมีรอยแผลจากสิวแต่บางคนไม่เป็น?

สิว เป็นปัญหาหนักใจของใครหลายคน เพราะใบหน้าที่มีสิวล้วนทำให้เกิดความไม่มั่นใจขึ้นได้ แถมสิวบางประเภทยังต้องใช้เวลานานในการรักษา แต่เมื่อสิวหายก็ใช่ว่าปัญหาผิวจะหมดไป เนื่องจากหลายครั้งมักจะมี ‘รอยแผลเป็นจากสิว’ เกิดตามมาในภายหลัง กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวสำคัญที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ดังนั้นเพื่อให้ผิวกลับมาสวยใสดั่งเดิม วันนี้เราจึงจะมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดรอยแผลเป็นจากสิว เพื่อให้ทุกคนรับมือและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสิวได้อย่างตรงจุด 

   

อะไรคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิด ‘รอยแผลเป็นจากสิว’ 

โดยปกติหลังจากสิวหายไป ร่างกายจะมีกระบวนการสร้างคอลลาเจน เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อหรือบริเวณผิวหนังที่เสียหายจากสิวให้กลับมาเรียบเนียนเช่นเดิม แต่เนื่องจากนี่เป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน การที่ร่างกายผลิตคอลลาเจนในปริมาณที่มีความสมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากร่างกายผลิตคอลลาเจนน้อยเกินไป ก็สามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิวที่เป็นหลุมลึกได้ แต่หากผลิตคอลลาเจนมากเกินไป ก็ส่งผลให้รอยแผลเป็นจากสิวนูนมากขึ้น นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่า การเกิดรอยแผลเป็นจากสิวมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม เช่น หากมีคุณพ่อหรือคุณแม่ที่มีรอยแผลเป็นจากสิว เราก็มีแนวโน้มที่จะเกิดรอยแผลเป็นจากสิวได้มากขึ้น 

ในต่างประเทศได้มีนักวิจัยทำการค้นคว้าในผู้ป่วยที่เป็นสิวจำนวน 185 ราย ในคลินิกรักษาสิว พบว่า 95% มักมีรอยแผลเป็นบางแห่งบนใบหน้าหรือลำตัว ซึ่งพบว่าการเกิดรอยแผลเป็นบนใบหน้าสามารถพบได้บ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่ผู้หญิงจะพบการเกิดรอยแผลเป็นตามลำตัวมากกว่าผู้ชาย แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนมีแนวโน้มเกิดรอยแผลเป็นจากสิวได้เท่า ๆ กัน  เพราะการเกิดรอยแผลเป็นจากสิวนั้นขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันและพันธุกรรมของแต่ละคนได้อีกด้วย

ประเภทของรอยแผลเป็นจากสิว

เราสามารถแบ่งประเภทรอยแผลเป็นจากสิวที่เกิดจากกระบวนการรักษาสิวได้ 3 ประเภท คือ 

ประเภทที่ 1 : รอยแผลเป็นสิวแบบหลุมลึก (Atrophic Scars) มีลักษณะเป็นรอยหลุมสิวยุบลึกลงไป เกิดจากการที่กระบวนการสร้างคอลลาเจนเสียสมดุล ทำให้ปริมาณคอลลาเจนที่ทำให้ผิวเรียบเนียนสวยใสถูกผลิตน้อยเกินไป โดยรอยแผลเป็นจากสิวแบบหลุมลึกนี้เป็นประเภทที่พบเจอได้บ่อย ยังสามารถแบ่งได้อีก 3 กลุ่มย่อยตามลักษณะและความลึกของหลุมสิวได้ดังนี้คือ 

  • หลุมสิวแบบคลื่น (Rolling Scar) มีลักษณะเป็นหลุมโค้ง ตื้น เป็นคลื่นไม่เรียบ (ถ้าไม่มีสิวแล้วใช้ super cop2x set ถ้ามีสิวอยู่ใช้เป็น cp serum set)
  • หลุมสิวแบบกล่อง (Boxcar Scar) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือออกรูปทรงกลมรี (ใช้ Super cop2x set แต้มที่หลุมสิว)
  • หลุมสิวแบบจิก (Icepick Scar) มีลักษณะตรงหลุมฐานคล้ายตัว V ลึก ก้นหลุมแหลม (ใช้ Super cop2x set แต้มที่หลุมสิว)

ประเภทที่ 2 : รอยแผลเป็นสิวแบบนูน (Hypertrophic Scars) เป็นรอยแผลเป็นที่จะมีเนื้อนูนขึ้นมาจากผิว สาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายสร้างคอลลาเจนเสียสมดุล ทำให้มีปริมาณคอลลาเจนมากเกินไป  

ประเภทที่ 3 : รอยแผลเป็นสิวจากการสร้างเม็ดสีที่เกินปกติ (Superficial Macular Scars) รอยแผลเป็นจากสิวประเภทนี้ถือว่าเกิดขึ้นชั่วคราวหลังจากที่สิวหายไป สาเหตุมาจากผิวใต้ผิวหนังเกิดการอักเสบ จึงทำให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สีผิวไม่สม่ำเสมอและเกิดเป็นรอยดำ แต่โดยทั่วไปจะสามารถหายได้เองภายใน 3 – 18 เดือน (ใช้ Tween BL-11 เพื่อให้รอยสิวหายเร็วขึ้น)

ขั้นตอนการเกิดสิวจนกลายเป็นรอยแผลเป็น 

ไม่ว่าใครต่างก็ไม่อยากให้ผิวหน้ามีรอยแผลเป็นจากสิว จึงมีนักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยที่ทำการวิจัยเรื่องนี้ แล้วพบว่าการเกิดรอยแผลเป็นจากสิวสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ

 

  • ขั้นตอนที่ 1 : รูขุมขนเริ่มมีการอุดตัน

บนผิวหนังร่างกายจะมีรูขุมขนขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งรูขุมขนเหล่านี้ได้ผลิตเส้นขนเล็ก ๆ พร้อมกับน้ำมันออกมาตามรูขุมขน ด้วยลักษณะนี้นี่เองจึงเป็นสาเหตุทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตันได้

 

  • ขั้นตอนที่ 2 : เกิดการก่อตัวของสิว

เมื่อต่อมไขมันผลิตน้ำมันในปริมาณมาก พร้อมกับที่ไม่มีการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่ตายแล้วออกไป ก็เป็นผลทำให้น้ำมันไม่สามารถระบายออกไปตามรูขุมขนได้ ส่งผลให้รูขุมขนอุดตัน และน้ำมันเหล่านี้คือแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่อยู่ในรูขุมขน ทำให้แบคทีเรียมีการเจริญเติบโต จนเป็นสาเหตุทำให้ผิวเกิดการอักเสบหรือเป็นสิวอักเสบนั่นเอง ซึ่งเมื่อร่างกายรับรู้ว่าผิวมีการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะตอบสนองการอักเสบเหล่านั้นเพื่อรักษาผิวด้วยการเกิดรอยแดงบวม ก่อตัวเป็นสิว หรือ สิวเสี้ยนในเวลาต่อมา 

และในกระบวนการนี้หากผนังรูขุมขนที่อุดตันมีการแตกเข้าไปในผิวหนังชั้นลึก ก็สามารถทำให้สิวมีขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 5 มม.) และอาจทำให้เกิดแผลจากสิวอักเสบอย่างรุนแรง กลายเป็นตุ่มสิวสีแดงก้อนใหญ่ ที่อาจพบหลายหัวสิวเรียงติดกัน (Nodule) และกลายเป็นสิวหัวช้างที่อาจมีหนองปนเลือดอยู่ข้างในได้ (Cyst)  

 

  • ขั้นตอนที่ 3 : เนื้อเยื่อถูกซ่อมแซม

ความพิเศษของร่างกายมนุษย์ คือ จะใช้การอักเสบเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อของผิวหนังให้กลับมาเป็นเช่นเดิม แต่ในขั้นตอนการซ่อมแซมนี้ก็ส่งผลให้เซลล์และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นหลังจากการอักเสบของผิวลดลง ร่างกายก็จะเริ่มซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหายด้วยโปรตีนคอลลาเจน 

 

  • ขั้นตอนที่ 4 : ความเรียบเนียนของผิวเกิดการเปลี่ยนแปลง

ในระหว่างที่ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เสียหายด้วยการผลิตโปรตีนคอลลาเจน เพื่อปรับสภาพผิวหน้าให้เรียบเนียน ก็สามารถทำให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิวในขั้นตอนนี้ได้ เพราะหากร่างกายผลิตคอลลาเจนน้อยเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดรอยแผลเป็นสิวแบบหลุมลึก (Atrophic Scars) และถ้าหากร่างกายผลิคอลลาเจนมากเกินไปก็ส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นสิวแบบนูน (Hypertropic Scars) ทำให้ใบหน้าดูไม่เรียบเนียนแม้ร่างกายจะซ่อมแซมผิวแล้วก็ตาม

ดังนั้นการที่ร่างกายผลิตโปรตีนคอลลาเจนอย่างสมดุล เพื่อซ่อมแซมผิวหนังที่เสียหายจากรอยสิวไม่ให้กลายเป็นรอยแผลเป็นจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ร่างกายควบคุมการผลิตคอลลาเจนผ่านโปรตีน 2 ชนิด คือ โปรตีน Matrix Metalloproteinases (MMPs) ที่เป็นโปรตีนย่อยสลายคอลลาเจน และสารยับยั้ง MMP ที่เป็นโปรตีนป้องกันไม่ให้ MMPs ย่อยสลายคอลลาเจน โดยหากร่างกายผลิตเอนไซม์ MMPs มากเกินไป ปริมาณคอลลาเจนก็จะถูกย่อยสลาย ส่งผลให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิวแบบหลุมลึก (Atrophic Scars) แต่ถ้าร่างกายผลิตสารยับยั้ง MMP มากเกินไป ก็จะทำให้เกิดการสร้างคอลลาเจนจำนวนมากจนเกิดเป็นรอยแผลเป็นจากสิวแบบนูนได้ (Hypertrophic Scars

 

สรุปแล้วจึงพบว่า สิวจะกลายเป็นรอยแผลเป็นก็ต่อเมื่อร่างกายผลิตปริมาณ MMPs และสารยับยั้ง MMP ไม่สมดุลกัน ส่งผลให้ปริมาณคอลลาเจนถูกผลิตได้น้อยหรือมากเกินไปนั่นเอง

 

ทำไมบางคนถึงมีรอยแผลเป็นมากกว่าผู้อื่น?

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมรอยแผลเป็นในแต่ละคนถึงมีไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้มีปัจจัยจากอะไรได้บ้าง ซึ่งจากการวิจัยวิทยาศาสตร์ก็พบว่า การเกิดจำนวนรอยแผลเป็นมีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน และลักษณะของยีน

 

  • ระบบภูมิคุ้มกัน มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรอยแผลเป็น เพราะสามารถควบคุมการตอบสนอง การรักษาและฟื้นฟูเนื้อเยื่อหรือผิวให้เรียบเนียนหลังจากเกิดสิวได้ โดยผู้ที่ไม่ค่อยเกิดรอยแผลเป็นจากสิว จะแสดงอาการผิวหนังอักเสบหรือสิวอักเสบเร็ว สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มเกิดรอยแผลเป็นจากสิวง่าย จะแสดงอาการอักเสบช้า มีอาการอักเสบเรื้อรั้ง อันเนื่องมาจากความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อมีไม่เพียงพอ จึงทำให้ผิวหนังเกิดรอยแผลเป็นจากสิว

 

  • ลักษณะของยีน ในต่างประเทศได้มีการวิจัยวิทยาศาสตร์เพื่อหาเหตุผลว่าทำไมบางคนถึงมีรอยแผลเป็นมากกว่าผู้อื่น และได้พบว่าลักษณะของยีนอาจมีส่วนทำให้เกิดรอยแผลเป็นมากขึ้น เนื่องจากพบว่าในผู้ป่วยโรคสิวจะมียีนทั้ง 3 ชนิดนี้เหมือนกัน คือ TGFB2 Gene, FST Gene และ OVOL 1 Gene แม้จะเป็นการค้นพบเพียง 3 ยีน แต่อย่างไรก็ตามการค้นพบนี้ได้สนับสนุนความคิดที่ว่า ลักษณะของยีนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ในบางคนมีแนวโน้มเกิดรอยแผลเป็นจากสิวได้มากกว่าคนอื่น

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นจากสิวคืออะไร?

แน่นอนว่าไม่มีใครอยากมีรอยแผลเป็นจากสิว ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยหลายอย่างทำให้เราอยากบอกว่า ตามทฤษฎีแล้วมันเป็นไปได้ที่แผลจากสิวและบาดแผลอื่น ๆ จะหายได้โดยไม่ก่อให้เกิดรอยแผลเป็น สังเกตได้จากเมื่อเกิดบาดแผลภายในปาก บาดแผลเหล่านี้ก็สามารถหายเองได้โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ หรืออาจจะมีรอยแผลเป็นขนาดเล็กเท่านั้น นอกจากนี้ก็ยังมีข้อมูลว่าหากทารกที่อยู่ในครรภ์ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ได้รับบาดเจ็บ บาดแผลก็มักจะหายเองได้โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็กำลังศึกษากระบวนการเกิดรอยแผลเป็นอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีป้องกันปัญหา เพราะยังมีข้อสงสัยว่าทำไมในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ยังคงปรากฎให้เห็นว่ารอยสิวกลายเป็นรอยแผลเป็นบ่อย ๆ ซึ่งสำหรับตอนนี้แนวทางป้องกันที่ดีที่สุดที่จะไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิว ก็คือ การรักษาสิวอย่างถูกวิธี และไม่ใช้มือไปแกะสิวโดยตรง

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ การเกิดรอยแผลเป็นจากสิวเป็นปัญหาผิวที่ใครหลายคนไม่อยากเผชิญ เพราะใช้เวลาในการรักษานาน ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นจากสิว การรักษาสิวอย่างถูกวิธี พร้อมดูแลใบหน้าให้สะอาด และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่สำคัญหากมีสิวเกิดขึ้นก็ต้องอย่าใช้มือไปแกะหรือบีบสิวโดยตรงนะคะ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจก่อให้สิวธรรมดาเป็นสิวอักเสบ และกลายเป็นรอยแผลเป็นในเวลาต่อมาได้นั่นเอง

[maxbutton id=”5″ ]