Mandelic Acid กับ Glycolic Acid

ความแตกต่างของ Mandelic Acid กับ Glycolic Acid

โมเลกุล Mandelic Acid:

– มีค่าความคงตัวของเคมีที่เสถียร (pK 3.41) มากกว่า Glycolic Acid (pK 3.83) ที่ 25°C
– มีขนาดใหญ่ (C8) กว่าโมเลกุลของ Glycolic Acid (C2)
– มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย
– ถูกดูดซึมเข้าสู่ชั้นผิวหนังกำพร้าอย่างช้า ๆ และดูดซึมได้มากกว่า Glycolic Acid
– ไม่รบกวนกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว
– ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบของผิวและรอยดำ, การสร้างเม็ดสีผิวมากเกินไป
– ช่วยฟื้นฟูผิวได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในกรณีของผู้ที่เป็นฝ้า, รอยแดง-ดำหลังการอักเสบ การสร้างเม็ดสีผิวมากเกินไปและจุดด่างดำบนผิวหนัง
– ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือผื่นแดง ซึ่งมักพบได้ในการใช้ Glycolic Acid 30-70%
– การใช้ Mandelic Acid ในการผลัดเซลล์ผิวนั้น ไม่ก่อให้เกิดผื่นแดง, สะเก็ดผิว หรือผิวบวมพุพอง
– ให้ผลปลอดภัยในผู้ที่มีผิวคล้ำ เมื่อเทียบกับการใช้ Glycolic Acid และ Tretinoin

ทำไมการใช้ Mandelic Acid เพื่อรักษาผิวจึงเป็นที่น่าสนใจ?

Methenamin นั้นไม่เป็นพิษ

– หากกลืนกินเข้าไป จะถูกดูดซึมและขับออกทางปัสสาวะ
– ใช้ปฏิกิริยาย่อยสลายโดยใช้น้ำ ระดับการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจาก methenamin จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วไปถึง pH 5.0-5.5

Mandelic Acid นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวที่ให้ผลดีและมีโครงสร้างโมเลกุลใหญ่ แต่ให้ผลในการแทรกซึมสู่ผิวได้เท่าๆกับ Glycolic Acid

– ช่วยป้องกันการอักเสบ และการระคายเคืองที่มักพบว่าเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวตัวอื่น ๆ ในกลุ่ม AHAs

Mandelic Acid (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ความเข้มข้น 30% และ 45%)

– ช่วยเร่งกระบวนการสร้างเซลล์ผิวให้กลับสู่สภาพปกติ
– ช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน
– ช่วยฟื้นฟูไฟเบอร์อิลาสตินในชั้นหนังแท้
– ให้ชีวิตใหม่กับผิวบอบบางแพ้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้นเป็นสาเหตุแรกของปัญหาการสร้างเม็ดสีผิวมากเกินไป ทำให้ผิวคล้ำขึ้น ในผู้ที่มีผิวคล้ำ ไม่ว่าจะเกิดจากการตั้งครรภ์ การรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงหมดประจำเดือน
กระบวนการก่อตัวของเม็ดสีผิวนั้นเริ่มขึ้นที่เซลล์ผิวชั้นลึก ที่ที่พันธุกรรมสร้างเอนไซม์ที่ชื่อว่า Tyrosinase หลังจากนั้น เคมีก็จะเริ่มตกลง Tyrosinase ก็จะเปลี่ยน Tyrosine ให้เป็น dopa ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น dopaquinone (ตัวชักนำให้เกิดการสังเคราะห์ melanin) และ dopaquinone ก็จะสร้างทั้งเม็ดสีน้ำตาล-ดำ ที่เรียกว่า “eumelanin” หรือ สีเหลือง-แดง ที่เรียกว่า “pheomelani” เม็ดสีเมลานินทั้งสองชนิดนี้เกิดขึ้นเป็นส่วนเล็ก ๆ ภายในโครงสร้างที่เรียกว่า melanosomes ซึ่งจะถูกส่งต่อไปยังเซลล์ผิวชั้นหนังกำพร้าที่อยู่ด้านบนสุด
การสังเกตการณ์แสดงให้เห็นว่า การใช้ Mandelic Acid เพื่อการดูแลผิวนั้น จะช่วยปรับสภาพผิวที่มีการผลิตเม็ดสีมากเกินไป และเราเริ่มที่จะใช้ Mandelic Acid ในการรักษาฝ้า กลไกการออกฤทธิ์ในการลดการสร้างเม็ดสีนั้นยังไม่แน่ชัดนัก แต่สันนิษฐานว่าจะไปรบกวนการทำงานของ tyrosinase ซึ่งคล้ายกันกับ Ascorbic Acid